เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขี้โมโห เอาแต่ใจตัวเอง เข้ากับคนอื่นได้ดี

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดการทั่วไป


ความหมายขององค์การ



มีผู้ให้ความหมายขององค์การไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
Joseph L. Massie ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า "องค์การ คือ กระบวนการที่กลุ่มบุคคลจัดตั้งขึ้น โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆนั้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้"
Herbert G. Hicks ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า "องค์การ คือ กระบวนการจัดการให
้บุคคลปฏิบัติงานรวมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้"
Daniel Katz และ Robert Kahn ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า "องค์การ คือ
กระบวนการที่ประกอบด้วยสิ่งนำเข้า(Input) ผ่านกระบวนการผลิตและได้ผลผลิต (Output) ออกมา"
จากความหมายดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น สรุปได้ว่า องค์การ (Organization) คือ การรวมตัวของบุคคลต่าง ๆ เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการแบ่งงานกันทำระหว่างผู้เป็นสมาชิก

วัตถุประสงค์ขององค์การ
วัตถุประสงค์ขององค์การ (Organization Objectives) แบ่งออกได้ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ
การดำเนินการองค์การธุรกิจ สิ่งที่องค์การต้องการคือ ความอยู่รอด ความเจริญเติบโต
และความมั่นคงขององค์การสิ่งต่าง ๆเหล่านี้จะแสดงในรูปของ "กำไร" องค์การต้องพยายามทำกำไรให้ได้สูงสุด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจขององค์การ
กำไร คือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งอาจจะแสดงในรูปของตัวเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการลงทุนก็ได้

2. วัตถุประสงค์ในการให้บริการ (Service Objectives)
ในการดำเนินงานขององค์การที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น การประปานครหลวง
การไฟฟ้านครหลวง สิ่งที่องค์การต้องการมิได้หวังผลกำไร แต่ต้องการให้บริการแก่ประชาชนเพื่อให้
ประชาชนได้รับความพึงพอใจ

3. วัตถุประสงค์ทางด้านสังคม (Social Objectives)
ทั้งองค์การของรัฐและองค์การธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม
เพื่อความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศชาติซึ่งโดยปกติวัตถุประสงค์ขององค์การของรัฐก็ คือ การให้บริการแก่สังคมโดยส่วนรวม ส่วนวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจ
นอกจากวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ คือกำไรแล้ว องค์การธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เนื่องจากการประกอบธุรกิจจะต้องสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกหลายฝ่าย ได้แก่
ลูกค้าพนักงานผู้ถือหุ้นเจ้าหนี้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งองค์การธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อบุคคล
ดังกล่าว เช่น ลูกค้า องค์การธุรกิจจะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าโดยซื่อสัตย์ต่อลูกค้า
ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงแก่ลูกค้า ไม่ขายสินค้าปลอมปน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือความรับผิดชอบ
ต่อสังคมนั่นเอง

ความหมายของการจัดการทั่วไป
การจัดการ (Management) หรือการบริหาร คือ ศิลปะในการจัดการให้บุคคลอื่นหรือสมาชิกทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

หน้าที่และขั้นตอนของการจัดการทั่วไป
ผู้บริหารองค์การมีหน้าที่ในการจัดการหรือการบริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสค์ที่ตั้งไว้
โดยการใช้คน (Men) เงิน (Mony) วัตถุดิบ (Material) และวิธีดำเนินงาน (Method) ขั้นตอนของ
การจัดการประกอบด้วย


1. การวางแผน (Planning)
การวางแผน เป็นหน้าที่แรกของการจัดการ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ
และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งการวางแผนจะต้องอาศัยประสบการณ์
การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต การวางแผนมีความสำคัญ เพราะทำให้
ลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ ไม่เกิดความ
ซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการประหยัดทำให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงาน
ต่าง ๆ ในองค์การ การวางแผนเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับกลาง หรือผู้บริหารระดับต้น แผนที่ดีจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ และเป็นที่ยอมรับของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับแผนนั้น

2. การจัดองค์การ (Organizing)
การจัดองค์การ คือ การกำหนดโครงสร้างขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป
อย่างมีระเบียบ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ โครงสร้างขององค์การ ปกติจะแสดงในรูปของ
แผนภูมิขององค์การการกำหนดโครงสร้างขององค์การจะต้องสอดคล้องกับลักษณะของกิจการ
ดังนั้นโครงสร้างของแต่ละองค์การจึงอาจไม่เหมือนกัน ในโครงสร้างขององค์การ จะต้องระบุ
หน้าที่และความรับผิดชอบ สายบังคับบัญชา ทำให้สมาชิกในองค์การได้รู้ถึงบทบาทและหน้าที่
ของตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นถึงการติดต่อประสานงานระหว่างแผนกงานต่าง ๆ
ในองค์การหลักการในการจัดโครงสร้างองค์การ พิจารณาวัตถุประสงค์ขององค์การ แบ่งงานกันทำ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แยกสายการปฏิบัติงานจากสายงานที่ปรึกษากำหนดอำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบจากระดับบนไปยังระดับล่าง กำหนดจำนวนคนใต้บังคับบัญชาในอัตรา
ที่เหมาะสม โครงสร้างองค์การควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจท
ี่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา พิจารณาการทำงานที่ต้องอาศัยความต่อเนื่องของเวลา

3. การจัดบุคคลเข้าทำงาน( Staffing)
การจัดบุคคลเข้าทำงาน คือ การจัดคนเข้าทำงานเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
การจัดบุคคลเข้าทำงานประกอบด้วยขั้นตอน ต่อไปนี้
3.1 การวิเคราะห์งาน คือ การกำหนดงาน รายละเอียดของงานอย่างชัดเจน
เพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานของบุคคลให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
3.2 การวางแผนกำลังคน คือ การคาดคะเนจำนวนคนที่หน่วยงานขององค์การต้องการ ระยะเวลาที่ต้องการประเภทและระดับของบุคคลที่ต้องการ
3.3 การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน คือ การแสวงหาบุคคลที่มีความสามารถตามที่
หน่วยงานขององค์การต้องการและการจูงใจให้บุคคลนั้นเข้าทำงานในองค์การ ซึ่งการ
จัดหาบุคคลเข้าทำงานอาจจะได้จากแหล่งภายในหรือแหล่งภายนอกองค์การก็ได้ โดยการ
จัดหาบุคคลจากแหล่งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการอบรมแนะนำงาน เป็นการ
สร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานเดิมได้มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ส่วนข้อดีของการจัด
หาบุคคลจากแหล่งภายนอก คือ ทำให้สรรหาบุคคลได้เหมาะสมกับงาน ได้บุคคลที่มีความรู้
ความสามารถใหม่ ๆ เข้ามาในองค์การและไม่เกิดการขาดแคลนบุคลคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง
งาน
3.4 การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน คือ การพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติตรง
ตามตำแหน่งานที่องค์การต้องการ วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานเพื่อจะให้ได้บุคคลที่มีความรู้
ความสามารถ และเหมาะสมที่ดีที่สุด โดยวิธีการสอบคัดเลือก ซึ่งขั้นตอนในการสอบคัดเลือก
บุคคลเข้าทำงานประกอบด้วย

1) ประกาศรับสมัครบุคคล โดยระบุคุณสมบัติของผู้สมัคร และระบุตำแหน่งงานที่
ต้องการรับสมัครอย่างชัดเจน
2) เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ โดยให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้สมัคร รายละเอียดเอกสารต่าง ๆ
ที่ต้องใช้ในการสมัคร และจ่ายใบสมัครให้ผู้สมัครเพื่อนำไปกรอกข้อมูล
3) ประกาศรายชื่อผู้สมัครที่มีสิทธิสอบคัดเลือก โดยตรวจดูจากใบสมัครและเอกสารที่
ประกอบการสมัครว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
4) ดำเนินการสอบคัดเลือก เครื่องมือที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการสอบคัดเลือก
คือ แบบทดสอบ ซึ่งต้องมีลักษณะการใช้ภาษาในแบบทดสอบที่ชัดเจน แบบทดสอบต้องประกอบ
ด้วยคำถามที่ครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ ที่องค์การต้องการจากผู้สมัคร
5) การสอบสัมภาษณ์และการพิจารณา การสอบสัมภาษณ์เป็นแบบทดสอบที่ใช้โดย
การสนทนา สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คืออารมณ์และอคติของผู้ทำการสัมภาษณ์ที่มีต่อผู้ถูกสัมภาษณ์
จะต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม ขั้นตอนหลังจากสัมภาษณ์ จะต้องมีการประชุมพิจารณาข้อมูล
ต่าง ๆ จากใบสมัคร ผลการสอบคัดเลือก ผลการสอบสัมภาษณ์ ประวัติการทำงานจากนายจ้างเดิม ความประพฤติจากสถาบันการศึกษา
6) ประกาศผลการสอบคัดเลือก หลังจากผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากคณะกรรมการ
แล้ว องค์การจะประกาศรายชื่อบุคคลที่ผ่านการสอบคัดเลือก
7) การตรวจร่างกายและประกาศผล เพื่อเป็นการคัดเลือกบุคคลที่สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคติดต่อเข้าทำงานกับองค์การ
หลังจากผ่านขั้นตอนการตรวจร่างกายองค์การประกาศรายชื่อบุคคลเข้าทำงาน
8) จัดการปฐมนิเทศและบรรจุบุคคลเข้าทำงาน การปฐมนิเทศพนักงานใหม่เป็นการแจ้ง
ให้พนักงานได้ทราบกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การเป็นการแนะนำสถานที่บริการต่าง ๆ ที่คนงานควรจะได้รับจากองค์การและบรรจุบุคคลเข้าทำงานตามหน่วยงานที่เหมาะสม โดยการทำ
งานขั้นแรกคือการทดลองงานตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือ
9) การติดตามและประเมินผลงาน หลังจากได้บรรจุคนงานให้ปฏิบัติหน้าที่แล้วองค์การ
จะต้องมีหน่วยงานติดตามการทำงานของพนักงาน เพื่อนำมาประเมินผลการทำงานว่ามีความ
เหมาะสมกับหน่วยงานที่บรรจุหรือไม่ เพื่อการนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือโยกย้ายให้
เหมาะสม

4. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หมายถึง การที่ทำให้บุคคลอื่นปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์การบรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้บริหารทุกระดับจึงต้องทำหน้าที่ในการอำนวยการ
ซึ่งประกอบด้วยการจูงใจ การประสานงาน การสื่อสาร และภาวะผู้นำของผู้บริหาร หลักการ
อำนวยการที่ดีคือผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
การมอบหมายงานต้องมีความสมบูรณ์ชัดเจนในคำสั่ง ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารภายใน
องค์การ รักษาไว้ซึ่งระเบียบข้อบังคับขององค์การ

5. การควบคุม (Controlling)
การควบคุม คือ การพยายามทำให้ผลของการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานที่ได้
กำหนดไว้ ระบบการควบคุมประกอบด้วย
1. การกำหนดมาตรฐานของผลงานในด้านปริมาณ คุณภาพ การใช้ต้นทุน หรือ
ค่าใช้จ่ายที่เสียไป ระยะเวลาที่ใช้
2. การสังเกตการปฏิบัติงานและการวัดผล โดยการเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานของคนงาน และนำข้อมูลที่ได้รับประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยการประเมินผลควรทำทั้งแบบไม่เป็นทางการ
และแบบเป็นทางการ
1) การประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ คือ การสังเกตการณ์และประเมินผลการปฏิบัติ
ตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน
2) การประเมินผลแบบเป็นทางการ คือ การประเมินผลที่กำหนดระยะเวลาการ
ประเมินผลซึ่งอาจจะกำหนดปีละครั้งปีละ
2 ครั้ง หรือปีละ 3 ครั้ง ตามความเหมาะสมตามสภาพ
ของงานที่จะต้องทำการประเมิน

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เจ้าชายที่หล่อที่สุดในโลก






ชีคฮัมดาน โอรสของชีคโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มาคทุม นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พระองค์กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งทั่วโลกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อกลายเป็นมกุฎราชกุมารของดูไบ เชื้อพระวงศ์วัย 25 ที่โก้เท่ห์ ทรงเป็นหัวหน้าทีมบริหารรัฐสภาของดูไบ ได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ และเป็นนักขี่ม้าตัวยงคนหนึ่ง




http://www.google.com/

ประวัติอาวริล



“ อาวริล” พังค์ร็อคสาวชื่อดังชาวแคนาเดียนได้ลืมตามาดูโลกในวันที่ 27 เดือน กันยายน พ. ศ. 2527 ในเมืองนาปานี รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา จากมารดาที่นามว่า “ จูดี้ ลาวีญ” (Judy Lavigne) และบิดาที่นามว่า “ จอห์น ลาวีญ” (John Lavigne) ท่านทั้งสองเป็นลูกครึ่งฝรั่งเศส- แคนาเดียน อาวริลมีพี่ชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า “ แมทธิว” (Matthew) และน้องสาวที่ชื่อว่า “ มิแชล” (Michelle) อาวริลมีส่วนสูง 5 ฟุต 2 นิ้ว หรือ 157 เซนติเมตรนั่นเอง ส่วนผมของเธอเป็นสีบลอนด์และตาเป็นสีฟ้า

ความ ทะเยอทะยานในด้านดนตรีแนวร็อคของอาวริล สังเกตเห็นได้ตั้งแต่เธอมีอายุราว 2 ปี เท่านั้น!! ในระยะวัยรุ่นช่วงแรกๆ ของเธอ อาวริลได้เขียนเพลงและเล่นกีตาร์ การที่เธอได้ร่วมร้องเพลงในคณะนักร้องในโบสถ์ งานเทศกาล และงานรื่นเริงประจำปีต่างๆ ในเมือง ทำให้เสียงอันไพเราะของเธอได้ถ่ายทอดสู่ผู้คนมากมาย โชคช่างเข้าข้างเธอ เมื่อคนระดับบิ๊กของอาริสต้า เรคค็อดซ์ (Arista Records) ที่ชื่อ “ อองโตนิโอ แอล. เอ. รีด” ( Antonio "L.A." Reid ) ได้ยินเสียงของอาวริล รีดได้เสนอข้อตกลงให้เธอ และเมื่ออาวริลมีอายุ 16 ปี ความฝันทางด้านดนตรีของเธอก็เป็นจริงขึ้นมา
ด้วยความช่วย เหลือของรีด และห้องชุดใหม่ในแมนฮัตตัน อาวริลได้พบว่า เธออยู่ในแวดวงของนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ชั้นแนวหน้า แต่เธอไม่รู้สึกประทับใจเพียงพอที่จะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป อาวริลนั้นเชื่อมั่นในความคิดของเธอเองที่จะจุดประกายทางดนตรีและสร้างสิ่ง ซึ่งไม่ได้กำหนดแบบแผนไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่ออาวริลไม่พบแสงสว่างทางดนตรี เธอจึงมุ่งหน้าไปยังเมืองลอส แองเจลิส และค่ายเน็ตต์เวอร์ค ( Nettwerk ) ได้คว้าตัวเธอไว้ โปรดิวเซอร์หรือนักแต่งเพลงของเธอ คือ “ คลิฟ แม็กเนซ” ( Clif Magness) ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ของ “ ซีลีน ดีออน” ( Celine Dion) “ วิลสัน ฟิลิปส์” ( Wilson Phillips) และ “ ชีน่า อีสตัน” ( Sheena Easton) เหล่านักร้องชื่อดัง
http://www.google.com/

มัสยิดต้นสน









“มัสยิดต้นสน” หรือ “กะดีใหญ่” มัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย

ชาวชุมชนมัสยิดต้นสนนี้ เชื่อว่าน่าจะมีการรวมตัวกันเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายจามที่เข้ามาเป็นกองอาสาต่างชาติในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ.2077-2111) ซึ่งเป็นช่วงของการเกณฑ์แรงงานอาสาต่างชาติเพื่อการศึกสงครามและบูรณะประเทศ โดยเฉพาะการขุดคลองลัดบางกอกในปี พ.ศ.2085 จึงทำให้มีชุมชนมุสลิมเกิดขึ้นในบริเวณท้ายป้อมเมืองบางกอกหรือป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบัน

ที่ตั้ง:

“มัสยิดต้นสน” ตั้งอยู่ที่ 447 ซอยวัดหงส์รัตนาราม ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม. 10600 การเดินทาง สามารถนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเตียนมายังวัดอรุณราชวราราม จากนั้นเดินออกมาที่ถนนอรุณอัมรินทร์แล้วเลี้ยวซ้ายมาทางสะพานอนุทินสวัสดิ์ มัสยิดต้นสนจะอยู่บริเวณใต้สะพาน สอบถามรายละเอียดโทร.0-2466-5326

และในบริเวณใกล้เคียงมัสยิดต้นสน ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่าง “วัดหงส์รัตนาราม” ซึ่งมีพระพุทธรูปทองโบราณสมัยสุโขทัยอันงดงามยิ่ง และ “ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ซึ่งเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งศาลนั้นเป็นจุดที่พระโลหิตของสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงหยดลงบนพื้น จึงต้องมีการสร้างศาลขึ้น

http://www.google.com/

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดสุราษฎร์ธานี


เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศอีกจังหวัดหนึ่ง เพราะมีธรรมชาติอันสวยงาม ทั้งหมู่เกาะต่างๆ เช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะนางยวน หมู่เกาะอ่างทอง และมีพื้นที่ป่าดิบชื้นบนบกที่อุดมด้วยพืชพรรณอันหลากหลาย สายน้ำมากมาย และสัตว์ป่านานาชนิด
สุราษฎร์ธานียังเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบครบครัน มีการคมนาคมที่สะดวกทั้งทางรถ รถไฟ เรือ และเป็นที่ตั้งของสนามบินถึง 2 แห่ง ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จนปัจจุบันได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวของชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนใต้ ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลั่งไหลไปเยี่ยมเยือนปีละหลายล้านคน
จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีเนื้อที่ประมาณ 12,891 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,056,875 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และมีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคใต้ สภาพภูมิประเทศมีความหลากหลายตั้งแต่เกาะขนาดต่างๆ ในทะเลอ่าวไทย ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล และที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำตาปีและแม่น้ำไชยา มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 156 กิโลเมตร
สุราษฎร์ธานีเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีชนพื้นเมืองเป็นพวกเซมังและชาวมลายูดั้งเดิม ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอน และจากการค้นพบร่องรอยของอารยธรรมศรีวิชัยในเขตอำเภอไชยา และพบร่องรอยของเมืองเก่าอีกหลายแห่งบริเวณรอบอ่าวบ้านดอน เช่น เมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองท่าทอง เมืองพุนพิน และเมืองเวียงสระ จึงสันนิฐานว่าเมืองไชยาเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัยในอดีต
เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง เมืองในแถบนี้ได้แยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช ตรงกับช่วงเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยทางเหนือกำลังเจริญรุ่งเรือง และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ไปถึงแหลมมลายู เมืองไชยาจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมืองนครศรีธรรมราชอ่อนแอลง ในขณะที่บ้านดอนมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า “กาญจนดิษฐ์” ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยา เข้าเป็น “อำเภอเมืองไชยา”
ต่อมาได้มีการกำหนดให้เรียกอำเภออันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดว่า “อำเภอเมือง” บ้านดอนซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในขณะนั้น จึงเปลี่ยนเป็น “อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี” แปลว่าเมืองแห่งคนดี ตามชื่อจังหวัดที่ได้รับพระราชทาน ส่วนอำเภอเมืองไชยาก็ถูกตัดคำว่า “เมือง” ออกเหลือเพียง “อำเภอไชยา” เป็นอำเภอหนึ่งของสุราษฎร์ธานีมาจนทุกวันนี้
ปัจจุบันจังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิยม อำเภอพนม อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย อำเภอดอนสัก อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านตาขุน อำเภอเกาะพะงัน อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอชัยบุรี และกิ่งอำเภอวิภาวดี


ที่มา www.google.com

จังหวัดพังงา


ไม่มีใครปฏิเสธการเดินทางไปเยือนจังหวัดกระบี่ เพราะที่นี่คือดินแดนแห่งขุนเขา หาดทราย ชายทะเล กลุ่มเกาะ น้ำตก และโถงถ้ำ ที่สวยงามติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งสามารถเดินทางไปเยือนได้ตลอดทั้งปี
ไม่ใช่เพียงแค่ภูมิประเทศที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ประวัติความเป็นมาอันยาวนานของกระบี่ รวมถึงอัธยาศัยไมตรีอันดีและวิถีชีวิตของคนกระบี่ที่ผูกพันอยู่กับการทำสวน ทำไร่ ก็เป็นอีกเสน่ห์ที่ทำให้กระบี่เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางในวันพักผ่อนของนักท่องเที่ยวเสมอมา
จังหวัดกระบี่มีเนื้อที่ประมาณ 4,708 ตารางกิโลเมตร ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 46 ของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ดอน ที่ราบ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 130 เกาะ ริมปากอ่าวและรอบหมู่เกาะหลายเกาะคือป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ มีภูเขาพนมเบญจาเป็นภูเขาสูงที่สุดของกระบี่ (1,397 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) และเป็นต้นกำเนิดของคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย สายน้ำสำคัญของจังหวัด
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบในเขตจังหวัดกระบี่ โดยหลักฐานอายุเก่าแก่ที่สุดคือถ้ำหมอเขียว ที่มีอายุถึง 27,000-37,000 ปีนั้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ที่นี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ มีการขุดค้นพบเครื่องมือยุคหินจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตอำเภอคลองท่อม อีกทั้งยังพบภาพเขียนสีโบราณบนผนังถ้ำหลายแห่ง เช่น ถ้ำผีหัวโต เป็นต้น
นอกเหนือจากการเป็นชุมชนเก่าแก่ กระบี่น่าจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางข้ามคาบสมุทรมลายูจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออก และเป็นศูนย์กลางทางการค้าอีกด้วย โดยพบหลักฐานสำคัญคือลูกปัดโบราณจำนวนมากในเขตอำเภอคลองท่อม
จนกระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า กระบี่คือเมืองบันไทยสมอ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 เมืองนักษัตร ขึ้นอยู่กับอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) โดยมีรูปลิงเป็นตราประจำเมือง และเป็นชุมชนซึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อเมืองถลาง (หรือภูเก็ต) ถูกพม่าเผาทำลาย กระบี่จึงได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าทดแทน ในยุคนี้มีการคล้องช้างป่าที่บ้านปกาไสยกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ช่วงนี้เองที่มีผู้คนอพยพมาตั้งหลักแหล่งมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ และเจริญขึ้นเป็นแขวงเมือง ชื่อแขวงเมืองปกาไสย โดยต่อมาได้ย้ายเมืองมาอยู่ริมทะเล บริเวณปากแม่น้ำกระบี่ เพราะที่ตั้งเมืองเดิมอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินนั้นไม่สะดวกต่อการค้าขายทางเรือ
กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2415 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะแขวงเมืองปกาไสยขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่” ขึ้นอยู่กับนครศรีธรรมราช จากนั้นจึงโอนไปขึ้นกับมณฑลภูเก็ตใน พ.ศ. 2439 จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ย้ายเมืองมาอยู่ ณ ที่ตั้งของศาลากลางหลังปัจจุบัน และได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดใน พ.ศ. 2476 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จังหวัดกระบี่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ อำเภออ่าวลึก อำเภอปลายพระยา อำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม อำเภอลำทับ อำเภอเกาะลันตา และอำเภอเหนือคลอง


ที่มา http://www.google.com/

จังหวัดตราด


เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
ตราดเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นที่ตั้งของเกาะที่สวยงามจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น “เมืองเกาะครึ่งร้อย” โดยมีเกาะที่สำคัญที่สุดคือเกาะช้าง ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ต
นอกจากนี้ จังหวัดตราดยังมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีการคมนาคมทางถนนที่สะดวกสบาย และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ขึ้น-ลงเป็นประจำทุกวัน ทำให้เมืองแห่งนี้มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวสูง พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งขึ้นต่อไป
ชื่อเมืองตราดนั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำไม้กวาด ที่ในอดีตมีขึ้นอยู่รอบเมืองเป็นจำนวนมาก แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมืองตราดก็มีอีกชื่อหนึ่งว่า “บ้านบางพระ” รวมทั้งมีการเรียกกันอีกชื่อว่า “เมืองทุ่งใหญ่” ดังปรากฏในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นหัวเมืองชายทะเลสังกัดฝ่ายการต่างประเทศ และเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง เนื่องจากในสมัยนั้น ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเลที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือสินค้า บริเวณชายฝั่งทะเลของเมืองตราดจึงมีชุมชนพ่อค้าชาวจีนตั้งอยู่
ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ตราดมีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาค ได้ส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งล้วนหามาได้จากเขตป่าชายฝั่งทะเลในแถบนี้ทั้งสิ้น
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก ได้นำกำลังพลตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งสุดท้ายมาทางทิศตะวันออก ได้ทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารให้เมืองจันทบุรี อันเป็นเมืองที่ตั้งของกองกำลังกอบกู้เอกราช ก่อนเคลื่อนกองทัพออกทำสงครามกู้เอกราชจนสำเร็จ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งต่อมาเวียงจันทน์หันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนจึงทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 โดยมีเมืองตราดเป็นแหล่งกำลังพลและเสบียงอาหาร มีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตรา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2436 และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดและเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง)
ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถทางการปกครองและการทูตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราด เมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) และเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูดคืนให้แก่ไทย โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ โดยทำสัญญากันในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบดินแดนกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนกำลังทหารออกไปในเวลาต่อมา ปัจจุบันชาวเมืองตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน "ตราดรำลึก"
ต่อมาวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ในช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสได้ล่วงล้ำน่านน้ำไทยในเขตจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยจึงได้เข้าขัดขวาง จนเกิดการยิงต่อสู้กันซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ยุทธนาวีที่เกาะช้าง" ครั้งนั้นฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไป และรักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ไว้ได้ แต่ก็ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไปถึง 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งชีวิตทหารอีกจำนวนหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบครั้งใหญ่ในกัมพูชา ทำให้มีชาวเขมรจำนวนนับแสนหนีตายเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ที่เริ่มจากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัดและชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่ กลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ และเมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็กที่สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
ปัจจุบันจังหวัดตราดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น7 อำเภอ เช่น อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง ฯลฯ


ที่มา http://www.google.com/