เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ขี้โมโห เอาแต่ใจตัวเอง เข้ากับคนอื่นได้ดี

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดการทั่วไป


ความหมายขององค์การ



มีผู้ให้ความหมายขององค์การไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
Joseph L. Massie ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า "องค์การ คือ กระบวนการที่กลุ่มบุคคลจัดตั้งขึ้น โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆนั้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้"
Herbert G. Hicks ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า "องค์การ คือ กระบวนการจัดการให
้บุคคลปฏิบัติงานรวมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้"
Daniel Katz และ Robert Kahn ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า "องค์การ คือ
กระบวนการที่ประกอบด้วยสิ่งนำเข้า(Input) ผ่านกระบวนการผลิตและได้ผลผลิต (Output) ออกมา"
จากความหมายดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น สรุปได้ว่า องค์การ (Organization) คือ การรวมตัวของบุคคลต่าง ๆ เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการแบ่งงานกันทำระหว่างผู้เป็นสมาชิก

วัตถุประสงค์ขององค์การ
วัตถุประสงค์ขององค์การ (Organization Objectives) แบ่งออกได้ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ
การดำเนินการองค์การธุรกิจ สิ่งที่องค์การต้องการคือ ความอยู่รอด ความเจริญเติบโต
และความมั่นคงขององค์การสิ่งต่าง ๆเหล่านี้จะแสดงในรูปของ "กำไร" องค์การต้องพยายามทำกำไรให้ได้สูงสุด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจขององค์การ
กำไร คือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งอาจจะแสดงในรูปของตัวเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการลงทุนก็ได้

2. วัตถุประสงค์ในการให้บริการ (Service Objectives)
ในการดำเนินงานขององค์การที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น การประปานครหลวง
การไฟฟ้านครหลวง สิ่งที่องค์การต้องการมิได้หวังผลกำไร แต่ต้องการให้บริการแก่ประชาชนเพื่อให้
ประชาชนได้รับความพึงพอใจ

3. วัตถุประสงค์ทางด้านสังคม (Social Objectives)
ทั้งองค์การของรัฐและองค์การธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม
เพื่อความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศชาติซึ่งโดยปกติวัตถุประสงค์ขององค์การของรัฐก็ คือ การให้บริการแก่สังคมโดยส่วนรวม ส่วนวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจ
นอกจากวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ คือกำไรแล้ว องค์การธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เนื่องจากการประกอบธุรกิจจะต้องสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกหลายฝ่าย ได้แก่
ลูกค้าพนักงานผู้ถือหุ้นเจ้าหนี้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งองค์การธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อบุคคล
ดังกล่าว เช่น ลูกค้า องค์การธุรกิจจะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าโดยซื่อสัตย์ต่อลูกค้า
ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงแก่ลูกค้า ไม่ขายสินค้าปลอมปน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือความรับผิดชอบ
ต่อสังคมนั่นเอง

ความหมายของการจัดการทั่วไป
การจัดการ (Management) หรือการบริหาร คือ ศิลปะในการจัดการให้บุคคลอื่นหรือสมาชิกทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

หน้าที่และขั้นตอนของการจัดการทั่วไป
ผู้บริหารองค์การมีหน้าที่ในการจัดการหรือการบริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสค์ที่ตั้งไว้
โดยการใช้คน (Men) เงิน (Mony) วัตถุดิบ (Material) และวิธีดำเนินงาน (Method) ขั้นตอนของ
การจัดการประกอบด้วย


1. การวางแผน (Planning)
การวางแผน เป็นหน้าที่แรกของการจัดการ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ
และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งการวางแผนจะต้องอาศัยประสบการณ์
การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต การวางแผนมีความสำคัญ เพราะทำให้
ลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ ไม่เกิดความ
ซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการประหยัดทำให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงาน
ต่าง ๆ ในองค์การ การวางแผนเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับกลาง หรือผู้บริหารระดับต้น แผนที่ดีจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ และเป็นที่ยอมรับของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับแผนนั้น

2. การจัดองค์การ (Organizing)
การจัดองค์การ คือ การกำหนดโครงสร้างขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป
อย่างมีระเบียบ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ โครงสร้างขององค์การ ปกติจะแสดงในรูปของ
แผนภูมิขององค์การการกำหนดโครงสร้างขององค์การจะต้องสอดคล้องกับลักษณะของกิจการ
ดังนั้นโครงสร้างของแต่ละองค์การจึงอาจไม่เหมือนกัน ในโครงสร้างขององค์การ จะต้องระบุ
หน้าที่และความรับผิดชอบ สายบังคับบัญชา ทำให้สมาชิกในองค์การได้รู้ถึงบทบาทและหน้าที่
ของตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นถึงการติดต่อประสานงานระหว่างแผนกงานต่าง ๆ
ในองค์การหลักการในการจัดโครงสร้างองค์การ พิจารณาวัตถุประสงค์ขององค์การ แบ่งงานกันทำ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แยกสายการปฏิบัติงานจากสายงานที่ปรึกษากำหนดอำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบจากระดับบนไปยังระดับล่าง กำหนดจำนวนคนใต้บังคับบัญชาในอัตรา
ที่เหมาะสม โครงสร้างองค์การควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจท
ี่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา พิจารณาการทำงานที่ต้องอาศัยความต่อเนื่องของเวลา

3. การจัดบุคคลเข้าทำงาน( Staffing)
การจัดบุคคลเข้าทำงาน คือ การจัดคนเข้าทำงานเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
การจัดบุคคลเข้าทำงานประกอบด้วยขั้นตอน ต่อไปนี้
3.1 การวิเคราะห์งาน คือ การกำหนดงาน รายละเอียดของงานอย่างชัดเจน
เพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานของบุคคลให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
3.2 การวางแผนกำลังคน คือ การคาดคะเนจำนวนคนที่หน่วยงานขององค์การต้องการ ระยะเวลาที่ต้องการประเภทและระดับของบุคคลที่ต้องการ
3.3 การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน คือ การแสวงหาบุคคลที่มีความสามารถตามที่
หน่วยงานขององค์การต้องการและการจูงใจให้บุคคลนั้นเข้าทำงานในองค์การ ซึ่งการ
จัดหาบุคคลเข้าทำงานอาจจะได้จากแหล่งภายในหรือแหล่งภายนอกองค์การก็ได้ โดยการ
จัดหาบุคคลจากแหล่งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการอบรมแนะนำงาน เป็นการ
สร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานเดิมได้มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ส่วนข้อดีของการจัด
หาบุคคลจากแหล่งภายนอก คือ ทำให้สรรหาบุคคลได้เหมาะสมกับงาน ได้บุคคลที่มีความรู้
ความสามารถใหม่ ๆ เข้ามาในองค์การและไม่เกิดการขาดแคลนบุคลคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง
งาน
3.4 การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน คือ การพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติตรง
ตามตำแหน่งานที่องค์การต้องการ วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานเพื่อจะให้ได้บุคคลที่มีความรู้
ความสามารถ และเหมาะสมที่ดีที่สุด โดยวิธีการสอบคัดเลือก ซึ่งขั้นตอนในการสอบคัดเลือก
บุคคลเข้าทำงานประกอบด้วย

1) ประกาศรับสมัครบุคคล โดยระบุคุณสมบัติของผู้สมัคร และระบุตำแหน่งงานที่
ต้องการรับสมัครอย่างชัดเจน
2) เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ โดยให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้สมัคร รายละเอียดเอกสารต่าง ๆ
ที่ต้องใช้ในการสมัคร และจ่ายใบสมัครให้ผู้สมัครเพื่อนำไปกรอกข้อมูล
3) ประกาศรายชื่อผู้สมัครที่มีสิทธิสอบคัดเลือก โดยตรวจดูจากใบสมัครและเอกสารที่
ประกอบการสมัครว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
4) ดำเนินการสอบคัดเลือก เครื่องมือที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการสอบคัดเลือก
คือ แบบทดสอบ ซึ่งต้องมีลักษณะการใช้ภาษาในแบบทดสอบที่ชัดเจน แบบทดสอบต้องประกอบ
ด้วยคำถามที่ครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ ที่องค์การต้องการจากผู้สมัคร
5) การสอบสัมภาษณ์และการพิจารณา การสอบสัมภาษณ์เป็นแบบทดสอบที่ใช้โดย
การสนทนา สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คืออารมณ์และอคติของผู้ทำการสัมภาษณ์ที่มีต่อผู้ถูกสัมภาษณ์
จะต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม ขั้นตอนหลังจากสัมภาษณ์ จะต้องมีการประชุมพิจารณาข้อมูล
ต่าง ๆ จากใบสมัคร ผลการสอบคัดเลือก ผลการสอบสัมภาษณ์ ประวัติการทำงานจากนายจ้างเดิม ความประพฤติจากสถาบันการศึกษา
6) ประกาศผลการสอบคัดเลือก หลังจากผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากคณะกรรมการ
แล้ว องค์การจะประกาศรายชื่อบุคคลที่ผ่านการสอบคัดเลือก
7) การตรวจร่างกายและประกาศผล เพื่อเป็นการคัดเลือกบุคคลที่สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคติดต่อเข้าทำงานกับองค์การ
หลังจากผ่านขั้นตอนการตรวจร่างกายองค์การประกาศรายชื่อบุคคลเข้าทำงาน
8) จัดการปฐมนิเทศและบรรจุบุคคลเข้าทำงาน การปฐมนิเทศพนักงานใหม่เป็นการแจ้ง
ให้พนักงานได้ทราบกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การเป็นการแนะนำสถานที่บริการต่าง ๆ ที่คนงานควรจะได้รับจากองค์การและบรรจุบุคคลเข้าทำงานตามหน่วยงานที่เหมาะสม โดยการทำ
งานขั้นแรกคือการทดลองงานตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือ
9) การติดตามและประเมินผลงาน หลังจากได้บรรจุคนงานให้ปฏิบัติหน้าที่แล้วองค์การ
จะต้องมีหน่วยงานติดตามการทำงานของพนักงาน เพื่อนำมาประเมินผลการทำงานว่ามีความ
เหมาะสมกับหน่วยงานที่บรรจุหรือไม่ เพื่อการนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือโยกย้ายให้
เหมาะสม

4. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หมายถึง การที่ทำให้บุคคลอื่นปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์การบรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้บริหารทุกระดับจึงต้องทำหน้าที่ในการอำนวยการ
ซึ่งประกอบด้วยการจูงใจ การประสานงาน การสื่อสาร และภาวะผู้นำของผู้บริหาร หลักการ
อำนวยการที่ดีคือผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
การมอบหมายงานต้องมีความสมบูรณ์ชัดเจนในคำสั่ง ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารภายใน
องค์การ รักษาไว้ซึ่งระเบียบข้อบังคับขององค์การ

5. การควบคุม (Controlling)
การควบคุม คือ การพยายามทำให้ผลของการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานที่ได้
กำหนดไว้ ระบบการควบคุมประกอบด้วย
1. การกำหนดมาตรฐานของผลงานในด้านปริมาณ คุณภาพ การใช้ต้นทุน หรือ
ค่าใช้จ่ายที่เสียไป ระยะเวลาที่ใช้
2. การสังเกตการปฏิบัติงานและการวัดผล โดยการเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานของคนงาน และนำข้อมูลที่ได้รับประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยการประเมินผลควรทำทั้งแบบไม่เป็นทางการ
และแบบเป็นทางการ
1) การประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ คือ การสังเกตการณ์และประเมินผลการปฏิบัติ
ตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน
2) การประเมินผลแบบเป็นทางการ คือ การประเมินผลที่กำหนดระยะเวลาการ
ประเมินผลซึ่งอาจจะกำหนดปีละครั้งปีละ
2 ครั้ง หรือปีละ 3 ครั้ง ตามความเหมาะสมตามสภาพ
ของงานที่จะต้องทำการประเมิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น